top of page

Sitemap / Wireframe / Permission

การวางตำแหน่งภาพ ข้อมูล วีดีโอ ตาราง และอื่นๆ ซึ่งรายละเอียดที่สามารถเก็บข้อมูลไปพร้อมๆกันได้ กับขั้นตอนการเก็บ wireframe คือส่วนของ Sitemap และ user permission

วิธีการทำและขั้นตอนการทำ Wireframe

เรื่องที่สำคัญมาก สำหรับการทำ Wirefreme แต่สิ่งที่ผู้เก็บความต้องการมักจะลืมคือการพูดคุยภาพรวมของเว็บไซต์ ซึ่งลูกค้าอาจจะไม่สามารถคิดได้ทั้งหมดในช่วงแรก ว่าเว็บโดยรวมจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง แต่ Site Map นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการทำ WBS (Work Brakedown Structure) ดังนั้นไม่ว่าจะสามารถเก็บข้อมูลได้มากน้อยแค่ไหนควรเริ่มจะจุดนี้ครับ

ขั้นตอนที่ 1 : Site Map

วิธีการคุย Site Map ให้เริ่มพูดคุยจะวิธีการทำงานของลูกค้า พูดถึงกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ พูดถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรม กอง แผนก เป็นต้น เพื่อให้ทราบถึงกลุ่มบุคคลที่จะใช้งาน และกลุ่มบุคคลที่สามารถแสดงความคิดเห็นต่อการใช้งานแต่ละหน้าจอได้ ดังนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วจะให้ลูกค้าเป็นคนเล่าเรื่องราวต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับโปรแกรมรวมทั้งปัญหาที่ประสบ ผู้เก็บความต้องการเป็นเพียงผู้ช่วยกำหนดทิศทางการผู้คุยเพื่อให้ได้มาซึ่งภาพรวมระบบ เพื่อให้สามารถประเมินระยะเวลาในการเก็บข้อมูลทั้งหมด เพื่อให้ขั้นตอนการเก็บความต้องการเป็นไปตามแผนการที่ผู้บริหารโครงการได้กำหนดไว้

ขั้นตอนที่ 2 : Wireframe & Content Layout

ขั้นตอนนี้สามารถเป็นไปได้หลากหลายแนวทางมากทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ลูกค้า และระยะเวลาการเก็บความต้องการเป็นหลัก เพื่อให้การเก็บข้อมูลเป็นไปตามกรอบเวลาจึงไม่ควรลงรายละเอียดเลย การวาง Layout ต้องเป็นเพียงการ Draft ไปพร้อมๆกับลูกค้าได้เลย ตัวอย่างสิ่งที่จะกำหนดไว้ใน wireframe ดังนี้

โดยเนื้อหายังสามารถปรับได้ในขั้นตอนการทำ Prototype ทั้งนี้เพื่อเป็นการไม่เร่งรัดลูกค้าให้คิดทันทีทันใดในช่วงเวลานั้น ซึ่งจะทำให้มีโอกาสผิดพลาดและต้องกลับมาแก้ไข ผู้เก็บความต้องการเพียง Draft เพื่อให้ลูกค้าเห็นภาพรวมไปพร้อมๆกัน และทิ้งเป็นการบ้านให้กับลูกค้าเพื่อมาใช้คุยในครั้งถัดไป และจะชัดลดระยะเวลาได้อีกด้วย

ขั้นตอนที่ 3 : Rewrite & Grouping

การปรับเปลี่ยน site map , content layout นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากการพูดคุยจะทำให้เราทราบถึงกลุ่มการทำงานที่แท้จริงและภาพรวม content ที่แท้จริง เพื่อให้การพัฒนาโปรแกรมได้ง่าย และผู้ใช้สามารถเข้าถึงเมนูและข้อมูลตามสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลตามต้องการ ดังนั้นการจัดกลุ่มการทำงานและการจัดกลุ่มหน้าจอนับว่าเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยและจะต้องทำให้เสร็จสิ้นในช่วงแรก เพื่อให้เป็นกรอบแนวคิดและทิศทางสำหรับการเก็บความต้องการต่อไป

ขั้นตอนที่ 4 : Crosstab Permission

ตาราง Crosstab เป็นตารางที่บ่งบอกถึงสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลในแต่ละระดับได้ดี สิ่งที่ควรทำในขั้นตอนนี้คือ การเสาะหากลุ่มผู้ใช้ ว่าถูกแบ่งเป็นกี่ระดับ แล้วมีการเข้าถึงข้อมูลเพียงแค่ระดับกลุ่มผู้ใช้อย่างเดียวหรือไม่ สำหรับโปรแกรมที่ไม่ซับซ้อน คือโปรแกรมที่ใช้ในส่วนงานเดียวก็จะมีเพียงระดับของกลุ่มผู้ใช้เพียง Level เดียวเท่านั้น แต่ถ้าเป็นการเข้าถึงข้อมูลในหลายๆส่วน หรือมีการบรูณาการข้อมูลเกิดขึ้น สิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลก็จะซับซ้อนขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นผู้เก็บความต้องการต้องระบุให้ได้ว่าการเข้าถึงข้อมูลมีกี่ Level เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจและกำหนดสิทธิ์ต่อไป เครื่องมือที่ใช้สำหรับส่วนนี้ แนะนำให้ใช้ Excel หรือ Google Sheet (online , Multi user) เพื่อกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล โดยที่ให้แนวนอนเป็น Level ซ้อนกับกลุ่มผู้ใช้ ส่วนแนวตั้งให้เป็นเมนูหรือ site map ที่ได้สรุปมาในขั้นตอนที่ 1

ทั้งนี้การเก็บข้อมูลแต่ละขั้นตอนไม่จำเป็นต้องเก็บขั้นตอนที่ 1 ให้จบทั้งหมดแล้วถึงจะไปสู่ขั้นตอนที่ 2 หรือถัดๆไป แต่จะสามารถเก็บในลักษณะวน loop ไปเรื่อยๆ แต่จะต้องตระหนักว่าจะต้องเรียงลำดับ 1-2-3-4 และก็วนอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เพื่อให้ได้มาซึ่ง wireframe ที่สมบูรณ์

*** User permission นั้นไม่จำเป็นต้องถามเป็นหัวข้อใหญ่ๆ แต่เพียงให้ผู้เก็บความต้องการ ถามเป็นระยะจากการเก็บข้อมูล Wire frame แต่ละหน้าว่ากลุ่มใดสามารถเข้าถึงหน้านี้ได้บ้าง***

bottom of page